เมนู

ธาตุ. ความกรุณา กิริยาที่กรุณา สภาพที่กรุณาในสัตว์ทั้งหลาย กรุณา
เจโตวิมุตติในสัตว์ทั้งหลาย นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ. แม้ในสุกกปักษ์นี้
กถาทั้ง 2 อย่าง คือ สัพพสังคาหิกากถา อสัมภินนกถา ก็พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวมาแล้วนั่นแล. ข้อความที่เหลือง่ายทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า วิตกฺกเย ได้แก่
ในหมวด 3 แห่งวิตก. บทว่า นิรากเร ความว่า ออกจากสันดานของตน
คือพึงบรรเทา อธิบายว่า พึงละ. บทว่า สเว วิตกฺกานิ วิจาวิตานิ สเมติ
วุฏฺฐีว รชํ สมูหตํ
ความว่า อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน
เมื่อเมฆนอกกาลเวลา ก้อนใหญ่ตกต่ำลงมา ฝนจะให้ฝุ่น ที่กองรวมกันอยู่ที่
แผ่นดิน ที่ลมพัดฟุ้งขึ้นโดยทั่ว ๆ ไป ให้สงบลงได้ในทันใด ฉันใด พระ-
โยคาวจรนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะให้วิตกที่ท่องเทียวไปในมิจฉาวิตก และ
วิจารที่สัมปยุตด้วยวิตกนั้น สงบคือระงับลงได้ ได้แก่ตัดขาดไป และพระ
โยคาวจรผู้เป็นอย่างนั้น มีใจสงบด้วยวิตก คือมีอริยมรรคจิต ที่ชื่อว่า
สงบแล้วด้วยวิตก เพราะระงับมิจฉาวิตกทุกอย่างได้ จะได้ถึง คือได้บรรลุ
สันติบท คือพระนิพพานในโลกนี้แหละ คือในปัจจุบันนี้ทีเดียว.
จบอรรถกถาอันธการสูตรที่ 8

9. มลสูตร


ว่าด้วยมลทินภายใน 3 ประการ


[268] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม 3 ประการนี้ เป็นมลทิน
ภายใน (มลทินของจิต) เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาต

ภายใน เป็นข้าศึกภายใน 3 ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ 1 โทสะ 1
โมหะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม 3 ประการนี้แล เป็นอมิตร
เป็นศัตรู เป็นเพชฌฆาต เป็นข้าศึกภายใน.
โลภะให้เกิดความฉิบหาย โลภะทำจิต
ให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโลภะนั้นอันเกิดแล้ว
ในภายในว่าเป็นภัย คนโลภย่อมไม่รู้
ประโยชน์นี้ ย่อมไม่เห็นธรรม โลภะย่อม
ครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ
ย่อมมีในขณะนั้น ก็ผู้ใดละความโลภได้
ขาด ย่อมไม่โลภในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความโลภ ความโลภอันอริยมรรคย่อมละ
เสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนหยดน้ำ
ตกไปจากใบบัวฉะนั้น.
โทสะให้เกิดความฉิบหาย โทสะทำ
จิตให้กำเริบ ชนไม่รู้จักโทสะนั้นอันเกิด
ในภายในว่าเป็นภัย คนโกรธย่อมไม่รู้จัก
ประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โทสะย่อม
ครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ
ย่อมมีในขณะนั้น ก็บุคคลใดละโทสะได้
ขาด ย่อมไม่ประทุษร้ายในอารมณ์เป็นที่
ตั้งแห่งความประทุษร้าย โทสะอันอริย-
มรรคย่อมละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบ
เหมือนผลตาลสุกหลุดจากขั้วฉะนั้น.

โมหะให้เกิดความฉิบหาย โมหะ
ทำจิตให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโมหะนั้นอัน
เกิดในภายในว่าเป็นภัย คนหลงย่อมไม่
รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โมหะ
ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ
ย่อมมีในขณะนั้น บุคคลใดละโมทะ
ได้ขาด ย่อมไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้ง
แห่งความหลง บุคคลนั้นย่อมกำจัดความ
หลงได้ทั้งหมด เปรียบเหมือนพระอาทิตย์
อุทัยจัดมืดฉะนั้น.

จบมูลสูตรที่ 9

อรรถกถามลสูตร


ในมลสูตรที่สูตรที่ 9 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
อนฺตรา ศัพท์ ในบทว่า อนฺตรามลา นี้ มาในเหตุ เช่นใน
ประโยคมีอาทิว่า
ชนทั้งหลาย ย่อมประชุมสนทนา
กันที่ฝั่งแม่น้ำ ในโรงที่พัก ในสภา และ
ในถนน ส่วนเราและท่าน มีอะไรเป็นเหตุ.